ความเข้าใจเรื่องการแก้กรรม

 

กรรม คือการกระทำ เมื่อกระทำแล้วก็มีวิบาก คือมีเหตุแล้วก็มีผล

เรารู้สึกอย่างไรก็แปลว่าเคยทำให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นนั้นมา “กรรมส่งผลที่ความรู้สึก” เรา

นอกจากนี้ยังมีกรรมส่งผลที่กายก็ได้ เช่น ฆ่าสัตว์มามากก็ทำให้เป็นคนร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย

ถ้าคนหรือสัตว์ที่เราทำไว้ แค้นเรา เค้าเรียกว่าเป็นการผูกเวร แต่เจ้ากรรมนายเวรไม่จำเป็นต้องเป็นคน หรือสัตว์ที่เราไปทำเขาไว้ เช่น อาจจะเคยพูดไม่ดีไว้กับพ่อแม่ แล้วก็เลยมาเจอแฟนที่พูดแย่ ๆ กับเรา

เราทำอาชีพขายหมู ฆ่าหมู หมูไม่จำเป็นต้องมาฆ่าเรา แต่กรรมจะส่งผลให้เราเจ็บป่วย

ถ้ามีใครมาทำไม่ดีกับเรา เป็นเพราะกรรมเก่าเรา เราให้อภัยคือไม่ผูกเวร คือใช้แล้วจบ ไม่แค้นแล้วโต้ตอบกับคนที่มาทำกับเรา ให้วนเวียนรับทุกข์ซ้ำซาก ก็จะได้จบวงจรทุกข์นี้เสียที

จิตแต่ละคนเก็บกรรมของตัวเอง ถ้าเราให้อภัยเขา แต่เขาไม่อภัยเรา ก็คือเขาเก็บกิเลส เก็บทุกข์ไว้ทำร้ายตัวเอง ไม่มีใครช่วยได้

พระพุทธเจ้ายังช่วยพระเทวทัตไม่ได้ ยังช่วยคนทั้งโลกไม่ได้ เพราะแต่ละคนเดินทางในสังสารวัฎมายาวนาน สั่งสมเหตุในเรื่องต่าง ๆ มานาน ผูกปม ผูกเงื่อนไว้เอง ต้องแก้เอง พระพุทธเจ้าท่านช่วยใครได้ ก็เพราะคนนั้นมีฐานด้านบารมี และปัญญามาเพียงพอ แต่ละคนจึงมีหน้าที่ช่วยเหลือตนเอง สั่งสมเหตุปัจจัยที่ดีของตนเอง

จากหนังสือเหตุเกิดจากความรัก และจากบทความหลายบท http://www.sangtean.com/love/love-articles/168-karma-feeling

ที่เขียนว่าถ้าระลึกได้ว่าทำกรรมกับใครไว้ให้ไปขออโหสิ ทุกข์นั้นก็จะเบาบางลง เพื่อให้เข้าใจการทำงานของกรรม

แต่....

จุดประสงค์ที่แท้จริงของการขออโหสิ คือเพราะเรา “สำนึกในความผิดที่ทำไป” ตั้งใจจะหยุดเวรที่มีต่ออีกฝ่าย

ประเด็นหลักจริง ๆ คือ “ตั้งใจวางเหตุ” คือนิสัยที่จะไม่ทำให้ใครทุกข์เช่นนี้อีก

เมื่อ ตัดกรรมด้วยการหยุดเหตุ จะไม่กระทำเช่นนี้กับใครอีก และตัดเวรด้วยการขออภัย แล้วอีกฝ่ายก็เลิกผูกเวร จึงจบวงเวียนการให้ผล

(ตัดกรรมคือหยุดเหตุไม่ดี ตัดเวรคือให้อภัย)

 

แต่ถ้านึกไม่ออก ไม่ต้องพยายามไปนึก หรือเดานะ ถ้าเข้าใจจุดประสงค์แล้วเราต้องเข้าใจว่า แม้เรานึกไม่ออกก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ มันไม่สำคัญเท่ารู้แล้วว่า เราเป็นผู้ร้ายของกรรมเราเอง

“”อย่าหลงประเด็นนะ””

เห็นบางคนพยายามระลึกถึงกรรมเก่า ที่จริงไม่ต้องพยายามนะ ถ้าระลึกไม่ได้

ไม่ต้องพยายามหาให้ปวดหมอง ถ้ามันจะระลึกได้เอง บางคนระลึกได้เอง ก็ค่อยไปขอโทษ

(ให้ดูใจเราดี ๆ ดีกว่า ที่อยากรู้ เพราะอยากหาย คือไม่ยอมรับกรรม ไม่อยากทุกข์ หรือเปล่า เพราะถ้าสำนึกจริง ๆ แล้วก็จบ)

ถึงนึกไม่ออก แต่ตั้งใจทำบุญ ทำสังฆทาน กรวดน้ำส่งให้เจ้ากรรมนายเวร เพื่อเป็นการชดใช้ แล้วขอให้เขาเป็นสุข พ้นจากวงจรทุกข์ แบบเดียวกันก็ได้

 

หรือบางคนระลึกได้ว่าเป็นตัวเองเคยทำผิดอะไรก็มัวแต่เศร้าโศก ทั้งที่ไม่มีทางย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้(ไม่มีใครเลยที่ทำเช่นนั้นได้) แต็ยังใช้ชีวิตในปัจจุบันอยู่กับอดีต ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

เน้นอีกครั้งว่า ไม่สำคัญว่าเราจะระลึกได้ไหม เคยทำผิดมามากแค่ไหน แค่ตั้งใจไม่ทำให้ใครทุกข์เช่นนั้นอีก ให้ตัวตนเก่าตายไป ยอมปล่อยวาง เราก็เป็ฯคนใหม่ได้เสมอ ถ้ายังทุกข์ซ้ำก็เรียนรู้ซ้ำ แล้วไม่สร้างเหตุที่ไม่ดีเพิ่ม กรรมก็จะหมดไปอยู่ดี

แต่จะเร็วหรือช้า มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสั่งสมเหตุมามาก แบบปลูกเลี้ยงต้นไทร หรือต้นถั่ว

เมื่อหยุดให้น้ำแล้วอย่างไรต้นไม้ก็ตาย แต่ต้นใหญ่ใช้เวลา ต้นเล็กแป๊บเดียวตาย

 

เรื่องของกรรมนั้น ไม่ว่าเราจะเก่งแค่ไหน แต่ถ้ายังเห็นความรู้สึก ความคิดเป็นเรา อย่างไรเราก็ต้องทุกข์ตามที่มีเหตุมาแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนที่จะทุกข์มากขึ้นมากน้อยแค่ไหน ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมอื่น ๆ อีก เช่น พื้นเป็นคนคิดมาก คิดไปในแง่ลบ กรรมทำให้คนอื่นทุกข์มา 10 คูณคิดมากอีก 100 คิดลบอีก 100 ก็ทำให้ทุกข์มากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

หรือบางคนทำกรรมไม่ดีมา แต่ทำบุญ ทำธรรมทานช่วยผู้อื่นให้เกิดปัญญาไว้มาก ถึงเวลาเจอทุกข์ก็ไม่จมมาก กรรมไม่ดีทำมาเท่าเกลือ 1 ช้อน แต่ทำบุญ ให้ธรรมทานเท่ากับน้ำทั้งโอ่ง รสเกลือก็เจือจาง

เรื่องกรรมที่จริงแล้วพระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าเป็นเรื่องอจินไตย เรื่องอจินไตยหมายถึงเป็นเรื่องที่”คาดเดา”ครอบคลุมทั้งหมดไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ด้วยการ “คิดเอา” ผู้พยายามระลึกเอาทั้งที่ไม่รู้ อาจทำให้เป็นบ้าได้

เมื่อเข้าใจว่า ทำกรรมแล้ว เหตุมันก็บังคับให้เราทุกข์ เหมือนนักโทษ

วิธีที่จะออกจากทุกข์ตลอดไปก็คือ การทำความเห็นให้แจ้งว่า กิเลสเป็นเหตุแห่งทุกข์ ขันธ์ 5  (กาย ความรู้สึกสุข/ทุกข์/เฉย ความจำ ความคิด ความรับรู้ได้เห็น/ได้ยิน/ได้กลิ่น/ได้ลิ้มรส/ได้รับรู้สัมผัส) เป็นไตรลักษณ์ แปรเปลี่ยน ไม่คงที่ ควบคุมไม่ได้

ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนมัน เพราะมันไม่ได้เป็นของเราอยู่แล้ว

ภาวนาให้เห็นตามจริงบ่อย ๆ จนจิตฉลาด แล้วคลายความยึดมั่นผิด ๆ ก็จะไม่มีผู้แบกทุกข์ และต้องแก้ทุกข์ที่ไม่มีวันหมดไปจากสังสารวัฎ

เมื่อหมดผู้อยากเสวยสุข หมดผู้เกิด ก็คือหมดการเกิด เรียกว่า ถึงเข้า สภาวะนิพพาน

 

การแก้กรรมเป็นเพียงการบรรเทา ไม่ให้วิบากดึงเราจนจม หรืออุปสรรคมากเกินจนไม่สามารถเห็นทางเดิน หรือเห็นทางไปต่อ แต่จะหมดทุกข์สิ้นเชิง ทำได้วิธีเดียวคือการภาวนา

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการภาวนา

หนังสือวิปัสสนานุบาล

http://www.sangtean.com/love/all-books/361-books-vipassananubal

และหนังสือ มหาสติปัฏฐานสูตร ค่ะ

http://www.sangtean.com/love/all-books/360-books-mahasati-dungtrin


 © Copyright 2011. เหตุเกิดจากความรัก.