วิธีเปลี่ยนชีวิตด้วยการเปลี่ยนนิสัย


ไม่ว่าเราจะมีนิสัยที่ไม่ดีเรื่องอะไร เช่น ขี้น้อยใจ ขี้หึง ขี้โมโห และอื่นๆ หากเห็นโทษของนิสัยเหล่านั้น และตั้งใจจะเปลี่ยน เท่ากับจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่กำลังเริ่มขึ้นแล้ว:)

การเห็นโทษของนิสัยเหล่านั้นว่าไม่ทำให้เกิดประโยชน์ มีแต่โทษต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการเริ่มต้น เมื่อเริ่มต้นดีแล้ว

ต่อมาขึ้นอยู่กับวิธีแก้นิสัย และทำความเข้าใจ


วิธีแก้นิสัย

จากประสบการณ์
เบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่านิสัยเกิดจากการสั่งสม
ในสถานการณ์ที่ตัวร้ายในใจเราทำงาน ตอนนั้นใจเราไม่สงบ พยายามคิดอะไรมันก็ไปทางลบตลอด ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าไม่สงบอยู่ ให้หยุดคิดเรื่องนั้นก่อน ให้นึกถึงโทษที่จะตามมาของการทำตามอารมณ์เหล่านั้น
พออารมณ์เบาลงแล้วค่อยคิดเหตุผลดีๆที่จะเข้าใจเรื่องราว
พระอาจารย์ของหญิงเคยเล่าให้ฟัง ตอนใจดิ้นเหมือนกวางคิดกับดัก ยิ่งดิ้นยิ่งทุกข์ ยิ่งเป็นแผล อาจจะขาขาด แต่ถ้านิ่งก่อน แล้วพิจารณาดูว่าจะแกะเงื่อนยังไง ยังพอมีทางรอด

สรุปในการแก้ เริ่มแรกเลยก็ต้องฝึกสติรู้ทันก่อนจะพูดและทำออกไป ถ้าเป็นนิสัยที่สะสมมานานก็ต้องอดทนมากหน่อย เพราะมันจะรู้สึกทรมาน แต่..จำไว้ว่าถ้าไม่อดทนครั้งนี้ ก็เหมือนให้อาหารมัน ครั้งต่อไปจะยิ่งห้ามยากขึ้นอีกหน่อย
แต่ถ้าห้ามตัวเองไม่พูดไม่ทำต่อได้ด้วยความเข้าใจ ต่อไปเวลาจะไม่พูดไม่ทำสิ่งนี้ จะไม่ต้องอดทนมาก มันจะไม่ทรมานเท่าเดิม จะค่อยๆลด แล้วนิสัยจะค่อยๆเปลี่ยน

ในช่วงที่อดทนนี่แหละจะยากหน่อย อย่าทำด้วยวิธีเก็บกด บังคับมันอย่างเดียว มันจะเหมือนอัดแรงระเบิด
ช่วงที่อดทนมีอุบายหลายอย่าง ที่เคยใช้ก็เช่น
รู้ตัวว่าคิดไม่ดีอยู่ก็เปลี่ยนอารมณ์ ไปอ่านหนังสือธรรมะบ้าง สวดมนต์ ทำบุญ
ขยับขึ้นมาก็ฝึกสติ วิธีนี้เวิร์คสุด ถ้าทำได้จนชินแล้วต่อไปไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ภายนอก มันคุมตัวเองได้มากขึ้นทุกเรื่อง แนะนำให้อ่านหนังสือ วิปัสสนานุบาล 

http://dungtrin.com/index.php?option=com_content&;view=category&id=55&Itemid=278

 

อุบายช่วยเปลี่ยนนิสัย

อันนี้เป็นทริค:)

1.ทำบุญ ทำทาน ทำสังฆทาน ด้วยใจสละข้าวของ ทรัพย์สิน ความหวงห่วง เพื่อประโยชน์ผู้รับและส่วนรวม แล้วอธิษฐานขอให้สามารถสละปล่อยวาง ความยึดมั่นในกิเลส นิสัยที่ไม่ดีนี้ ละเหตุแห่งทุกข์ได้ง่ายเหมือนที่สละความหวงในทรัพย์และสิ่งของเหล่านี้

เมื่อทำด้วยความเห็นถูกใจจะโล่ง หมั่นระลึกถึงกุศล (กุศลแปลว่าฉลาด) นี้บ่อยๆ คือรู้แล้วว่าไม่ยึดมีความสุขอย่างไร ทำบ่อยๆ พออารมณ์ นิสัย กิเลส ตัวนั้นๆโผล่มา เราก็เห็นเป็นของแปลกปลอม  มันมาเอง ไม่ได้เชิญ แค่เราไม่ยึดเสีย เดี๋ยวความรู้สึกนั้นก็ดับ 


2.
ไหว้พระสวดมนต์ ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้นำแสงสว่างทางปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์มาให้ หากไม่มีไตรสรณคมน์ ไม่มีคำสั่งสอนก็ไม่มีทางพ้นทุกข์

แนะนำบทสวดอิติปิโส ฯ (ที่มาจาก หนังสือ รักแท้มีจริง โดยคุณดังตฤณ)

 

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

(ส่วนนี้เป็นการกล่าวตามสัจจะความจริงที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้อันวิเศษและความประพฤติชอบ เป็นผู้ไปดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกผู้ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในธรรม เป็นผู้มีความสามารถจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

(ส่วนนี้เป็นการกล่าวตามสัจจะความจริงที่ว่า พระธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามพึงเห็นจริงได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ผู้อื่นบอกหรือยืนยัน เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงโดยไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรชักชวนผู้อื่นให้มาเห็นตามกัน เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว และเป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน รู้เผื่อคนอื่นไม่ได้)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลิกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ

ใครไม่เคยสวด ช่วงแรกอาจจะสวดพร้อมคำแปลไปด้วย แต่เมื่อระลึกเข้าใจความหมายแล้วก็อาจจะสวดบาลีอย่างเดียว

การสวด จะสวดกี่จบก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ ตอนสวดระลึกถึงคุณตามคำแปลด้วยใจน้อมบูชา สวดแล้วใจนิ่ง สงบ เมื่อไหร่เป็นใช้ได้ (แต่ถ้ายังไม่สงบ ไม่ต้องพยายามอยากด้วยความสงบนะ ให้ทำตามที่บอกคือใจน้อมไปที่ไตรสรณคมน์ ระลึกถึงสิ่งที่ดีแล้วใจจะดีเอง)

พอใจนิ่งแล้ว ให้ตั้งใจเหมือนอุบายการทำทาน “ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ช่วยให้เราสามารถสละปล่อยวาง ความยึดมั่นในกิเลส นิสัยที่ไม่ดีนี้ ละเหตุแห่งทุกข์ได้ง่าย”

สวดบ่อยๆเช้าเย็น ^^

 

การทำความเข้าใจ 

หมายถึงความเข้าใจเรื่องกรรม คนส่วนใหญ่แม้รู้ว่าตัวเองทำไม่ดี แต่บางทีก็มีข้ออ้างว่าเพราะเขาทำไม่ดีก่อน จึงอดทนพยายามเปลี่ยนตัวเองไม่ได้นาน
ส่วนมากเราreact คนอื่นอย่างไรเพราะเข้าใจว่าเค้ามาทำกับเรา แต่ถ้าเราเข้าใจใหม่ว่าทุกอย่างมันไม่บังเอิญ มันเป็นกรรมที่เราทำมานั่นแหละ แล้วเรียนรู้ที่เหตุ แก้ที่เหตุคือนิสัยเราได้ ปัญหาภายนอกจึงจะค่อยๆคลี่คลาย
คนส่วนใหญ่ไปแก้ที่ผล ไปแก้ที่ภายนอก โดยไม่แก้ไขที่เหตุ ทำให้เรื่องบานปลาย

ลองอ่านหนังสือเหตุเกิดจากความรักที่ http://www.sangtean.com/love/reading

เป็นกำลังใจให้ทุกคนออกแบบชีวิตตนเองใหม่ให้สดใสและมีความสุขนะคะ ^_^


 © Copyright 2011. เหตุเกิดจากความรัก.